ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Porter’s competitive forces model

       สภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจนั่น เราจําเป็นต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ที่จะทําให้เรานั่นหาทางที่จะพัฒนากิจการของเรา โดยอาศัยทฤษฎีของ Porter's Five force Model

       
ซึ่ง Porter's Five force Model นั่นคือ ปัจจัยหลักที่เป็นเเรงผลักดันทั้ง 5 หรือ ก็คือเป็นอุปสรรค์ในการทํากิจการ
   
       
เราจะมาทําการวิเคราะห์ปัจจัยในเเต่ละตัว โดย

1. 
คู่แข่งรายใหม่   ให้เราพิจารณาว่ากิจการของเราเป็นหลักว่าคู่แข่งจะสามารถเข้ามาตีตลาดแข่งกับเราได้ง่ายหรือยาก  ถ้าเข้ามาได้ง่ายจนเกินไปหรือเข้ามาในอัตราที่มาก  จะทําให้เรามีอุปสรรคเพิ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

2.  
สินค้าทดแทน   ให้เราพิจารณาว่ามีสินค้าทดแทนประเภทเดียวกันมากหรือน้อย  ดูต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้าปัจจุบัน ไปสู่การใช้สินค้าทดแทน

3.  
อำนาจต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ   ถ้าเราต้องพึงพิงวัตถุดิบของเขาเท่านั้น  แสดงถึงเขาจะอยู่เหนือเรา   เพราะเราต้องง้อเขา   ซึ่งจำนวนผู้ขายหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ ถ้ามีผู้ขายน้อยราย อำนาจต่อรองของผู้ขายจะสูง มีอิทธิพลเหนือผู้ซื้อทั้งในด้าน ราคา คุณภาพและเงื่อนไขการซื้อขายอื่นๆ

4.  
อำนาจการต่อรองของลูกค้า   ปัจจัยนี้ จะเป็นอุปสรรคมากถ้าผลผลิตของเรามีลูกค้าไม่มาก  เราต้องง้อลูกค้า  เพราะอำนาจเป็นของลูกค้า โดยปริมาณการซื้อ ถ้าผู้ซื้อทำการสั่งซื้อในปริมาณที่มาก ย่อมมีอำนาจการต่อรองสูง

5.   
การแข่งขันภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน  ตัวนี้สำคัญอย่างยิ่ง เพราะเราจะต้องอยู่รอดต่อไปให้ได้ โดยจำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม หากมีจำนวนมากหรือมีขีดความสามารถที่พอๆกันย่อมส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรง แต่อาจมีบางกรณีที่แม้จะมีจำนวนผู้ประกอบการน้อยราย และแต่ละรายมีสัดส่วนการครองตลาดใกล้เคียงกันก็อาจส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงได้เช่นกัน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Spiral model

Spiral model Spiral model คือ Software Development Process หนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเอาจุดแข็งของ Development Model อื่นที่ดีอยู่แล้วมาประยุกต์ ( Waterfall Mode) ใช้ตีค่าความเสี่ยงที่เกิดเพื่อจะได้ทราบว่าจุดใดมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน จะได้หาวิธีลดความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้การพัฒนาไม่ประสบความสำเร็จ Spiral Model เป็นโมเดลที่ถูกพัฒนาขึ้นจาก Waterfall Model ที่มีการทำงานเป็นขั้นตอนหากในขั้นตอนแรกวิเคราะห์ความต้องการไม่ดี ไม่ชัดเจน ความเสี่ยงที่ระบบจะถูกพัฒนาไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้าสูง กระบวนการนี้จึงนำเอาข้อดีของ Prototype มาผสมผสานให้เกิดคามชัดเจนและมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในทุกชั้น ทำให้โอกาสที่ระบบจะล้มเหลวมีน้อยลง ตัวอย่างของ Waterfall Model หรือ The Linear Model ภายหลังถูกปรับเปลี่ยนเป็นรูปเเบบจําลองบันไดเวียน( Spiral model) เพราะเเบบเก่านั่นติดข้อจํากัดคือ ถ้าพบว่าขั้นตอนไหนผิดพลาดเเล้วตอนเสร็จกระบวนการทั้งหมด จะเเก้ไขไม่ได้เลย ต้องจําเป็นที่จะต้องเริ่มรอบใหม่( Iteration) อีกครั้งนั่นเอง               Spiral model จะมีลักษณะแบบก้นหอยเป็นวงๆชั้นๆ

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในองค์กรทั่วไป

โปรแกรมประยุกต์ที่นิยมใช้ในงานธุรกิจ โปรแกรมประยุกต์ที่นิยมใช้ในงานธุรกิจ ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software)        เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ          4.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป       ซอฟแวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ เป็นต้น               1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบ

Overview of order fulfillment & Logistics

Overview of order fulfillment Order fulfillment หมายถึง การจัดหาสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าหลังได้รับการสั่งซื้อ ตรงตามเวลา Order fulfillment ถือเป็นส่วนหนึ่งของ back-office operation และสัมพันธ์อย่างมากกับส่วน front-office operation Back-office operation เช่น บัญชี สินค้าคงคลัง การจัดส่งเป็นต้น Front-office operation (หรือ customer-facing activities) เช่น การขายและโฆษณา เป็นต้น Overview of Logistics Logistics คือ กระบวนการในการวางแผน (planning) การนำไปใช้จริง (implement) การควบคุม (controlling) การไหล (flow) และ การจัดเก็บ (storage) ของสินค้าและงานบริการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้รวมถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้น (point of origin)ไปยังจุดที่เรียกใช้งาน (point of consumption) จุดมุ่งหมายก็เพื่อบรรลุถึงความต้องการของลูกค้า ตามนิยามนี้หมายรวมไปถึง inbound, outbound, internal และ external movement รวมไปถึงการส่งวัตถุดิบและสินค้ากลับคืน และ รวมไปถึง order fulfillment อีกด้วย ปัจจัยหลักของ order fulfillment คือ ทำการจัดส่งสินค้าหรืองานบริการให้ตรงเว