ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

4 Properties Of Data warehouse

Data Warehouse คือ ที่เก็บข้อมูลที่มีประโยชน์ มีการจัดสรร การจัดเก็บ มีหลายมิติ(Multidimensional) เช่น ช่วงเวลา ตรงนี้ก็ต้องตรงกับ Business Logic และวัตถุประสงค์ของแอพพลิเคชั่นที่จะนำมาใช้ เพื่อให้สอดคล้อง ดังนั้นจึงมักมีการจัดเก็บเป็นมิติต่าง ๆ มากมาย

          คุณสมบัติของระบบฐานข้อมูล Data warehouse ที่แตกต่างจากฐานข้อมูลทั่วๆไป จะประกอบไปด้วย 4คุณสมบัติดังนี้

1. Subject Oriented คือ คลังข้อมูลจะถูกสร้างจากหัวข้อหลักทางธุรกิจที่เน้นเนื้อหาที่สนใจ เช่น ลูกค้า(Customer) ผลิตภัณฑ์ (Product) ยอดขาย (Sales) ใบกำกับภาษีลูกค้า (Customer Invoicing) การควบคุมสต๊อก (Stock Control) และการขายผลิตภัณฑ์ (Product Sales) สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความต้องการการจัดเก็บเพื่อใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ การวิเคราะห์ และดาต้ามายนิง (Data Mining)

2. Integrated คือ ข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเป็นได้ทั้งข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอกและแหล่งภายใน การจัดเก็บข้อมูลอยู่ในรูปแบบแตกต่างกัน (Different Formats) หรือมาจากความแตกต่างของแพล็ตฟอร์ม แต่นำมาสร้างเป็นฐานข้อมูลที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว

3. Time-variant คือ ข้อมูลในฐานข้อมูลปฏิบัติการมุ่งเน้นความเป็นปัจจุบัน และต้องปรับหรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อมูลในคลังข้อมูลจะเป็นข้อมูลที่มีช่วงอายุในระยะเวลาหนึ่ง อาจมีระยะเวลาตั้งแต่5-10ปี ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมเป็นหลัก กานำข้อมูลย้อนหลังที่เก็บรวบรวมไว้เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ หาแนวโน้มและใช้ทรัพยากรณ์ทางธุรกิจ

4. Non-volatile คือ ข้อมูลในคลังข้อมูลนั้นจะมีความแตกต่างจากฐานข้อมูลที่ใช้งานอยู่ประจำวัน ฐานข้อมูลประจำวันจะมีการเพิ่ม ลบ หรือปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ขณะที่คลังข้อมูลมีจุดประสงค์เพื่อให้ยูสเซอร์เข้าถึงข้อมูลเพื่อเรียกใช้งานเท่านั้น การปรับปรุงข้อมูลในคลังข้อมูลถือเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลในคลังข้อมูลเน้นประสิทธิภาพด้านการเรียกใช้ข้อมูลที่มีความรวดเร็วสูงเป็นหลักสำคัญมากกว่าพิจารณาความซ้ำซ้อนในฐานข้อมูล



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Spiral model

Spiral model Spiral model คือ Software Development Process หนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเอาจุดแข็งของ Development Model อื่นที่ดีอยู่แล้วมาประยุกต์ ( Waterfall Mode) ใช้ตีค่าความเสี่ยงที่เกิดเพื่อจะได้ทราบว่าจุดใดมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน จะได้หาวิธีลดความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้การพัฒนาไม่ประสบความสำเร็จ Spiral Model เป็นโมเดลที่ถูกพัฒนาขึ้นจาก Waterfall Model ที่มีการทำงานเป็นขั้นตอนหากในขั้นตอนแรกวิเคราะห์ความต้องการไม่ดี ไม่ชัดเจน ความเสี่ยงที่ระบบจะถูกพัฒนาไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้าสูง กระบวนการนี้จึงนำเอาข้อดีของ Prototype มาผสมผสานให้เกิดคามชัดเจนและมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในทุกชั้น ทำให้โอกาสที่ระบบจะล้มเหลวมีน้อยลง ตัวอย่างของ Waterfall Model หรือ The Linear Model ภายหลังถูกปรับเปลี่ยนเป็นรูปเเบบจําลองบันไดเวียน( Spiral model) เพราะเเบบเก่านั่นติดข้อจํากัดคือ ถ้าพบว่าขั้นตอนไหนผิดพลาดเเล้วตอนเสร็จกระบวนการทั้งหมด จะเเก้ไขไม่ได้เลย ต้องจําเป็นที่จะต้องเริ่มรอบใหม่( Iteration) อีกครั้งนั่นเอง               Spiral model จะมีลักษณะแบบก้นหอยเป็นวงๆชั้นๆ

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในองค์กรทั่วไป

โปรแกรมประยุกต์ที่นิยมใช้ในงานธุรกิจ โปรแกรมประยุกต์ที่นิยมใช้ในงานธุรกิจ ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software)        เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ          4.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป       ซอฟแวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ เป็นต้น               1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบ

Overview of order fulfillment & Logistics

Overview of order fulfillment Order fulfillment หมายถึง การจัดหาสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าหลังได้รับการสั่งซื้อ ตรงตามเวลา Order fulfillment ถือเป็นส่วนหนึ่งของ back-office operation และสัมพันธ์อย่างมากกับส่วน front-office operation Back-office operation เช่น บัญชี สินค้าคงคลัง การจัดส่งเป็นต้น Front-office operation (หรือ customer-facing activities) เช่น การขายและโฆษณา เป็นต้น Overview of Logistics Logistics คือ กระบวนการในการวางแผน (planning) การนำไปใช้จริง (implement) การควบคุม (controlling) การไหล (flow) และ การจัดเก็บ (storage) ของสินค้าและงานบริการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้รวมถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้น (point of origin)ไปยังจุดที่เรียกใช้งาน (point of consumption) จุดมุ่งหมายก็เพื่อบรรลุถึงความต้องการของลูกค้า ตามนิยามนี้หมายรวมไปถึง inbound, outbound, internal และ external movement รวมไปถึงการส่งวัตถุดิบและสินค้ากลับคืน และ รวมไปถึง order fulfillment อีกด้วย ปัจจัยหลักของ order fulfillment คือ ทำการจัดส่งสินค้าหรืองานบริการให้ตรงเว