ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Ajax (Asynchronous Javascript)

   Ajax (Asynchronous JavaScript) คือเทคโนโลยีที่รวมเอาความสามารถของ JavaScript, XML, CSS, XHTML เอาไว้ด้วยกัน
          เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาษา Java เป็นภาษาที่ใช้ในการสร้างโปรแกรมที่ใช้งานบน Internet โดยโปรแกรมที่สร้างขึ้นด้วย Java จะผ่านการคอมไพล์จากเครื่องหนึ่ง และนำไป Run บนระบบใด ๆ เช่น Windows, Mac หรือ Unix ในเครื่องอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางไมโครซอฟท์ได้มีการทำงานร่วมกับ W3C(World Wide Web Consortium) หรือ องค์กรผู้กำหนดมาตรฐาน HTML เพื่อพัฒนามาตรฐานข้อมูลบนเว็บที่ให้ HTML สามารถแสดงข้อมูลที่ XML ได้เตรียมไว้ และทางไมโครซอฟท์เองก็ได้มีการเปิดตัวBrowser ตั้งแต่ IE 4.0 เป็นต้นไป ที่สามารถเรียกดูและประมวลผลข้อมูลได้ และเป็นข้อกำหนดให้ Browser เวอร์ชันใหม่ของค่ายไมโครซอฟท์สนับสนุน XML โดยในปี ค.ศ.2005 นั้นเองที่มีการนำเอาเทคโนโลยี XMLHttpRequest  มาใช้ใน Gmail และ GoogleMaps และต่อจากนั้นมา Ajax ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นตลอดมา

Why to use Ajax
          เหตุผลส่วนใหญ่ที่เรานำ Ajax มาใช้ในการสร้างเว็บเพจนั้นก็เพื่อความสะดวกรวดเร็ว Ajax เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งเพราะการทำงานไม่ได้ใช้การประมวลจาก Server-side เพียงฝั่งเดียว แต่ Ajax ยอมให้มีปฏิบัติการประมวลผลบน Client-side (ใน JavaScript ) กับข้อมูลที่ใช้จากเครื่องแม่ข่ายด้วย ซึ่งต่างจากในอดีตที่การประมวลผลนั้นจะตกเป็นหน้าที่ของทางเครื่องฝั่ง Server-side ฝั่งเดียว

หลักการทำงานของ Ajax

          ตามปกติเมื่อเราเปิด Web Browser และพิมพ์ URL ของเว็บเพจที่ต้องการเราจะเรียกผู้ใช้ว่า Client-side Browser ก็จะส่งค่าไปยัง Server เพื่อขอเปิดหน้า URL ที่เราพิมพ์ลงไป เช่น www.google.co.th และเมื่อทาง Server ได้รับค่าที่ส่งมาก็จะส่งหน้าเว็บเพจกลับมาให้ โดยเราจะเรียก Server ว่าผู้ให้บริการหรือ Server-side เมื่อฝั่งผู้ใช้ได้รับข้อมูลจาก Server ที่ส่งมาให้ Browser ก็จะนำข้อมูลนั้นขึ้นหน้าจอ จากนั้นเมื่อเราคลิกเว็บหน้าอื่น ๆ ก็จะเริ่มขั้นตอนทั้งหมดใหม่อีกครั้ง ตัวอย่างเพื่อความเข้าใจจากโปรแกรมเครื่องคิดเลขแบบง่ายๆครับ เมื่อผู้ใช้ (client)ใส่ตัวเลขในค่าที่ 1 และ 2 แล้ว คลิกเลือกว่าจะบวก ลบ คูณ หรือ หาร เพื่อหาค่าที่ต้องการข้อมูลนี้ก็จะส่งไปยัง server เพื่อเอาค่าทั้งสองที่ผู้ใช้ป้อนไปหาค่าตามที่เลือกไว้ไปจัดการ วิธีการนี้หน้าจอเว็บเพจจะต้องมีการ Refresh ใหม่ และการรับผลที่ส่งกลับมาจะเป็นการส่งมาแบบทั้งหน้าเว็บเพจแบบเต็ม ๆ ทำให้กินBandwidth มาก
Web application Model 
แบบมาตรฐาน และ แบบ AJAX
          ส่วนการทำงานของ Ajax นั้นจะส่งเฉพาะข้อมูลที่ต้องการไปยัง server และส่งกลับมาเฉพาะข้อมูลที่ต้องการไม่ใช่การส่งทั้งหน้าเว็บเพจมาใหม่ โดย Ajax อาศัย Object ที่ชื่อ XMLHTTP เมื่อผู้ใช้เปิดหน้าเว็บแล้วมีการส่งข้อมูล Ajax ก็จะให้ XMLHTTP ส่งค่าไปให้ Server แล้วให้ Server จัดการข้อมูลนั้นตามเงื่อนไขแล้วส่งข้อมูลนั้นกลับมาในรูปแบบ XML ซึ่งก็จะใช้ JavaScript เป็นตัวจัดการข้อมูลที่ได้รับให้แสดงผลได้อย่างถูกต้องในหน้าเว็บเพจเดิม จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาที่เท่ากันเว็บแอพพลิเคชั่นแบบ Ajax จะสามารถส่งข้อมูลได้หลายครั้งกว่าแบบมาตรฐาน
การติดต่อไปยัง Server ในแบบมาตรฐาน

ประโยชน์ของ Ajax

          ประโยชน์ของ Ajax สำหรับประโยชน์ในการใช้งานนั้น เราจะสามารถนำมาใช้สำหรับการเข้าถึงระบบข้อมูลขนาดใหญ่ใช้กับระบบเครือข่ายในองค์กรหรืออินเตอร์เน็ตเพื่อดูข้อมูลหรือเรียกใช้ข้อมูลที่ให้การแสดงผลทางหน้าจอที่รวดเร็วและง่ายในการจัดการ และยังสะดวกในการจัดการด้านระบบการติดต่อกับผู้ใช้จากโครงสร้างของข้อมูล เราสามารถนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาแสดงผลและประมวลผลร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า รายการสั่งซื้อ ผลการวิจัย รายการรับชำระเงินข้อมูลเวชระเบียน รายการสินค้าหรือข้อมูลสารสนเทศอื่น ๆ ก็สามารถแปลงให้เป็น XML ได้ และในส่วนของข้อมูลสามารถปรับให้เป็น HTML ได้ อีกทั้งไม่ต้อง Refresh หน้าจอใหม่ทุกครั้งและข้อมูลที่ส่งไป-กลับไม่ได้ส่งไปทั้งหน้าทำให้กิน Bandwidth น้อย

ที่มาจาก
        http://cannot.info/?start=2&idCat=1&p=71620047771
        http://community.thaiware.com/index.php?showtopic=248289
        http://www.xul.fr/en-xml-ajax.html
        http://www.thaicss.com/main/xhtml-xml-html-css.html

        http://www.thaimisc.com/r/view.php?id=581&category=

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Spiral model

Spiral model Spiral model คือ Software Development Process หนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเอาจุดแข็งของ Development Model อื่นที่ดีอยู่แล้วมาประยุกต์ ( Waterfall Mode) ใช้ตีค่าความเสี่ยงที่เกิดเพื่อจะได้ทราบว่าจุดใดมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน จะได้หาวิธีลดความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้การพัฒนาไม่ประสบความสำเร็จ Spiral Model เป็นโมเดลที่ถูกพัฒนาขึ้นจาก Waterfall Model ที่มีการทำงานเป็นขั้นตอนหากในขั้นตอนแรกวิเคราะห์ความต้องการไม่ดี ไม่ชัดเจน ความเสี่ยงที่ระบบจะถูกพัฒนาไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้าสูง กระบวนการนี้จึงนำเอาข้อดีของ Prototype มาผสมผสานให้เกิดคามชัดเจนและมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในทุกชั้น ทำให้โอกาสที่ระบบจะล้มเหลวมีน้อยลง ตัวอย่างของ Waterfall Model หรือ The Linear Model ภายหลังถูกปรับเปลี่ยนเป็นรูปเเบบจําลองบันไดเวียน( Spiral model) เพราะเเบบเก่านั่นติดข้อจํากัดคือ ถ้าพบว่าขั้นตอนไหนผิดพลาดเเล้วตอนเสร็จกระบวนการทั้งหมด จะเเก้ไขไม่ได้เลย ต้องจําเป็นที่จะต้องเริ่มรอบใหม่( Iteration) อีกครั้งนั่นเอง               Spiral model จะมีลักษณะแบบก้นหอยเป็นวงๆชั้นๆ

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในองค์กรทั่วไป

โปรแกรมประยุกต์ที่นิยมใช้ในงานธุรกิจ โปรแกรมประยุกต์ที่นิยมใช้ในงานธุรกิจ ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software)        เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ          4.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป       ซอฟแวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ เป็นต้น               1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบ

Overview of order fulfillment & Logistics

Overview of order fulfillment Order fulfillment หมายถึง การจัดหาสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าหลังได้รับการสั่งซื้อ ตรงตามเวลา Order fulfillment ถือเป็นส่วนหนึ่งของ back-office operation และสัมพันธ์อย่างมากกับส่วน front-office operation Back-office operation เช่น บัญชี สินค้าคงคลัง การจัดส่งเป็นต้น Front-office operation (หรือ customer-facing activities) เช่น การขายและโฆษณา เป็นต้น Overview of Logistics Logistics คือ กระบวนการในการวางแผน (planning) การนำไปใช้จริง (implement) การควบคุม (controlling) การไหล (flow) และ การจัดเก็บ (storage) ของสินค้าและงานบริการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้รวมถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้น (point of origin)ไปยังจุดที่เรียกใช้งาน (point of consumption) จุดมุ่งหมายก็เพื่อบรรลุถึงความต้องการของลูกค้า ตามนิยามนี้หมายรวมไปถึง inbound, outbound, internal และ external movement รวมไปถึงการส่งวัตถุดิบและสินค้ากลับคืน และ รวมไปถึง order fulfillment อีกด้วย ปัจจัยหลักของ order fulfillment คือ ทำการจัดส่งสินค้าหรืองานบริการให้ตรงเว